วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความที่น่าสนใจ

ถั่วงอก

               ถั่วงอก คือต้นอ่อนระยะเริ่มงอกของเมล็ด แต่คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมล็ดของถั่วเขียวงอก คนไทยคุ้นเคยกับถั่วงอกจากถั่วเขียวมาช้านาน เมื่อกระแสเรื่องสุขภาพกำลังเป็นที่สนใจ ทำาให้มีการนำเมล็ดพืชหลายชนิดมาเพาะเป็นต้นอ่อน ทำให้ในปัจจุบันถั่วงอกและเมล็ดงอกที่เพาะขายเป็นการค้ามีหลายชนิด เช่น

ถั่วงอก เพาะจากถั่วเขียวเมล็ดเขียวและเมล็ดดำา ใช้เวลาเพาะประมาณ 3 วัน มีรสกรอบ มีวิตามิน และเกลือแร่สูง
ถั่วงอกหัวโต หรือ ถั่วเหลืองงอก ใช้เวลาเพาะนานวันกว่าถั่วงอก มีกลิ่นถั่วและเนื้อกระด้างกว่าถั่วงอก หัวแข็ง
โต้วเหมี่ยว เพาะจากเมล็ดถั่วลันเตา หวานกรอบ  รสเหมือนถั่วลันเตา ใช้เวลาเพาะประมาณ 10 วันก็ได้ต้นอ่อนที่  เก็บกินได้ มีวิตามินบี และวิตามินซีสูง
ไควาเระ เพาะจากเมล็ดหัวไชเท้า รสกรอบ หวานซ่า  เล็กน้อย มีวิตามินเอ วิตามินซี 
และโปแตสเซียมสูง
อัลฟาลฟา (Alfalfa) เพาะจากถั่วลันเตาชนิดหนึ่ง  นิยมใช้เป็นผักสลัด มีโปรตีนและวิตามินบีสูง
ถั่วแดงงอก เพาะจากถั่วแดง หรือ adzuki beans เพาะง่ายเหมือนถั่วเขียวงอก มีหัวโต ช่วยให้กรอบมัน
ถั่วลิสงงอก กรอบอร่อย มีรสมัน ถั่วลิสงเพาะยากกว่าถั่วอื่น ๆ เพราะขึ้นราได้ง่าย ดังนั้นถึงแม้จะอร่อยมาก แต่กลับ  มีคนเพาะขายกันน้อย พบมากในภาคใต้


 ปัจจุบันในต่างประเทศยังนิยมนำเมล็ดธัญพืชหลายชนิดมาทำเมล็ดงอก เช่น ข้าวสาลีงอก ข้าวโอ๊ตงอก ข้าวบาร์เลย์งอก 
ข้าวไรย์งอก ข้าวโพดงอก ฯลฯ ทำให้ได้เมล็ดงอกที่หลากหลายมากขึ้น                    ถั่วงอกและเมล็ดงอกอุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน  คนเอเชียรับประทานถั่วงอกทั้งดิบและสุก จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารไปแล้ว มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่า “คนจีน” เป็นชนชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะถั่วงอกกินเป็นอาหารมาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้เมล็ดถั่วเหลืองในการเพาะ ทำให้ถั่วงอกที่ได้มีลักษณะหัวโต จึงนิยมเรียกกันว่า “ถั่วงอกหัวโต” คนจีนโบราณใช้ถั่วเหลืองงอกเป็นแหล่งวิตามินซีในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก แม้แต่กะลาสีเรือก็กินถั่วงอกเพื่อช่วยป้องกันรักษาโรคลักปิดลักเปิดส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย
          นอกจากนั้น ในถั่วงอกยังมีวิตามิน บี 12 ซึ่งจำาเป็นสำหรับการซ่อมแซมเซลล์ มีธาตุเหล็กและเลซิตินช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีเส้นใยสูง เนื่องจากในกระบวนการงอกของเมล็ดถั่วโปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคส และไขมันกลายเป็นกรดไขมัน ทำให้ร่างกายสามารถย่อยเพื่อนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย จึงช่วยเรื่องระบบการย่อยอาหาร ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนกับการกินเนื้อสัตว์ช่วยให้การขับถ่ายดี ช่วยดูดซับของเสียออกจากร่างกาย  เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก ร่างกายจึงเสื่อมช้าทั้งยังให้พลังงานต่ำปราศจากไขมัน ไม่เพียงเท่านั้นในถั่วงอกยังมีสารออซินัน (Auxinon) ซึ่งเป็นสารต้านความแก่ คนที่กินถั่วงอกเป็นประจำจึงยังคงความหนุ่มสาวได้ยาวนานไม่แก่เกินวัย และเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสำาหรับคนที่ต้องการลดน้ำ หนัก นักโภชนาการจึงยกให้ถั่วงอกเป็นสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่ง

 อันตรายในถั่วงอกและต้นถั่วงอก
                     แม้ว่าถั่วงอกและเมล็ดงอกจะมากคุณค่าแต่ก็ยังมีอันตรายแอบแฝงอยู่ อันตรายจากพืชเหล่านี้มีได้ 3 ทาง คือ 
มาจากตัวมันเอง ที่มีสารมีสารพิษพวกที่เรียกว่า ไฟเตต ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเข้าร่างกาย ส่งผลให้เป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม จึงควรรับประทานถั่วงอกสุกดีกว่าถั่วงอกดิบ หากจะรับประทานดิบก็ไม่ควรบริโภคปริมาณมาก
อันตรายต่อมาคือ สารเคมีที่เป็นพิษ ถั่วงอกส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดอาจมีการใช้สารเคมี เช่น สารฟอกขาว สารทำให้ถั่วงอกอวบอ้วน สารเร่งความสด ซึ่งสารเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินเข้าไปอาจมีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และอาจทำให้ เสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเลือกถั่วงอกที่มีสีขาวผิดปกติ หลีกเลี่ยงถั่วงอกที่มีสีคล้า ดำ  นอกจากนี้ก่อนบริโภคถั่วงอกควรทำให้สุกเสีย  ก่อนเพราะสารไฮโดรซัลไฟต์ที่ใช้ฟอกสีที่อาจมีอยู่ในถั่วงอกจะถูกทำลายด้วยความร้อน ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการนำถั่วงอกดิบมารับประทานสด ๆ                     อันตรายลำดับสุดท้ายคือ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค  มีรายงานการระบาดของเชื้อโรคที่มีต้นเหตุมาจากถั่วงอกดิบและเมล็ดงอก ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1973 – 2005  ถึง 37 ครั้งในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง โดยใน 2ปีหลังมีผู้ป่วยกว่า 400 ราย การระบาดครั้งใหญ่สุดเกิดในญี่ปุ่น  เมื่อปี 2539 มีผู้ล้มป่วยกว่า 9,000 คน และเสียชีวิตถึง 11 คน ส่วนการระบาดในเยอรมันเมื่อปี 2554 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 33 คน และมีผู้ป่วยกว่า 3,100 คน แม้ในปัจจุบันก็ยังมีรายงานการระบาดของเชื้อเนื่องมาจากเมล็ดงอกอยู่

ขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.vcharkarn.com/varticle/44032

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น